Share

8 โรคมีความเสี่ยง เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ

Last updated: 23 May 2024
424 Views

นอกจากนี้การอดนอนที่เรื้อรังยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือปัญหาทางสุขภาพโดยมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะทั่วร่างกายและยังอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ดังนี้

ระบบหัวใจและหลอดเลือด
คนที่ไม่นอนเป็นเวลา 88 ชม. พบว่ามีความดันเลือดสูงมากผิดปกติ และในผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ยังเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 2 เท่า การอดนอนจึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว เช่นผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

ระบบภูมิคุ้มกัน
ขณะที่นอนหลับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตเซลล์ cytokinesและ antibodyเพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย การอดนอนจึงทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อได้นอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป

โรคเบาหวาน
หากพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ระดับกลูโคสในเลือด เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 23% รวมทั้งระดับอินซูลินในเลือดก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 48% คนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วจะเกิดภาวะร่างกายดื้ออินซูลินจากการนอนไม่พออีก

ปัญหาเรื่องความจำ
คนที่นอนหลับในช่วง 4 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม พบว่ามีผลต่อความจำ ความมีสมาธิอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการทำงานของสมอง เมื่อสมองไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้ซ่อมแซมตัวเองได้ดีเท่าที่ควร ประสิทธิภาพด้านการคิด การใช้เหตุผล สมาธิลดลง และส่งผลต่อความจำ ทำให้มีอาการขี้หลงขี้ลืมได้บ่อยๆ จนอาจเกิดภาวะสมองล้า ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ในอนาคต

ลดประสิทธิภาพของวัคซีน
คนที่นอนหลับไม่เพียงพอได้รับการฉีดวัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่ง ระดับการตอบสนองของแอนติบอดี้จะค่อนข้างต่ำ หากคนที่นอนน้อยสัมผัสกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัด คนกลุ่มนี้มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าคนที่นอนหลับเพียงพอ

น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
พบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวมากขึ้น และเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้สูงกว่าผู้ที่นอนหลับ 7 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ที่นอนน้อยจะมีสารเคมีเลปติน (Leptin)ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ในระดับต่ำ และมีฮอร์โมนเกรลิน (Ghelin) ที่กระตุ้นให้หิวอยู่ในระดับมาก

ทำให้เกิดอาการทางจิต
การอดนอนชนิดรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะโรคทางจิต (Pschosis) ได้ เช่น อาการหูแว่วประสาทหลอน หลงผิด ระแวงกลัวคนมาทำร้ายหรือมีอาการคล้ายคนที่เป็นโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ยังทำให้เกิดอาการหงุดหงิดง่ายอีกด้วย

สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
เพราะการนอนไม่หลับจะทำให้ฮอร์โมน เทสโทสเทอโรน  ต่ำลง ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศต่ำลงไปด้วย จากการตรวจของแพทย์จะเห็นได้ว่าผู้ที่เสื่อมสภาพทางเพศส่วนใหญ่ มักจะมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย หรือนอนไม่หลับเลยทั้งคืน

การนอนเป็นสิ่งสำคัญ การนอนหลับสนิทหลับลึก จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่ช่วยในการนอนหลับอย่างเช่น เห็ดหลินจือแดง เป็นสมุนไพรที่ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายความวิตกกังวล ช่วยทำให้นอนหลับและช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนให้นานขึ้น

อ้างอิงจาก : https://www.bangpakok1.com/care_blog/view/67 


Related Content
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy